ผู้แต่ง
นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
เป็นกวีที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เ ดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก
ฝ่ายพระราชวังบวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2
ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพรมีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า
นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย
นายนรินทรธิเบศร์เป็นผู้แต่งนิราศคำโคลง
ที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์ตามชื่อผู้แต่ง
ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก
ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 เท่านั้น
ในชั้นหลังเราได้ทราบประวัติของท่านจากหนังสือนิราศนรินทร์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้
โดยทรงเล่าเพิ่มเติมว่า “…นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
ไม่ใคร่จะได้แต่งหนังสือไว้มากนัก และแต่งไว้บ้างก็ล้วนแต่เป็นโคลง
ที่ปรากฏว่าเป็นกลอนนั้นน้อยเต็มที โคลงยอพระเกียรติตอนท้ายหนังสือปฐมมาลา
ก็เป็นฝีปากของนายนรินทร์ (อิน) จึงสันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
ชอบโคลงมากกว่าคำประพันธ์อื่นๆ”
ผลงานการประพันธ์ของนายนรินทรธิเบศร์นั้นไม่ปรากฏแพร่หลาย
แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ว่า “..ส่วนที่แต่งไว้ในที่อื่นๆ
นั้น ไม่มีที่ใดจะเปรียบกับโคลงนิราศนี้ได้” แต่ทรงมิได้ระบุว่านายนรินทร์ได้แต่งเรื่องอื่นใดไว้นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น
ลักษณะคำประพันธ์
นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143
บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท
ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ
ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย
ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม
ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
จึงมีคำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่เข้าใจยาก หรือเป็นที่ถกเถียงกันโดยยังไม่มีข้อยุติ
ความเป็นมา
นายนรินทรธิเบศร์
(อิน)
แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร
โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์
แล้วกล่าวถึง ความเจริญของบ้านเมือง
จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป
เนื้อหา
นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก (ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก (ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
นิราศนรินทร์
1.
ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์
จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า
แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว
ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน
ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน
เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว
ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน
ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว
เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไทเทิดฟ้า
เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ
2.
อยุธยายศล่มแล้ว
ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บุญเพรงพระหากสรรค์ ฝึกฟื้นใจเมือง1
3.
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์
4.
โบสถ์ระเบียงมณฑปฟื้น ไพหาร
ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว
หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์
ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว
หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์
8.
จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย
เยียวว่าแดเดียวยก แยกได้
สองซีกแล่งทรวงตก แตกภาค ออกแม่
ภาคพี่ไปหนึ่งไว้ แนบเนื้อนวลถนอม
เยียวว่าแดเดียวยก แยกได้
สองซีกแล่งทรวงตก แตกภาค ออกแม่
ภาคพี่ไปหนึ่งไว้ แนบเนื้อนวลถนอม
10.
โฉมควรจักฝากฟ้า
ฤาดิน ดีฤา
เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
11.
ฝากอุมาสมรแม่แล้
ลักษมี เล่านา
ทราบสวยภูวจักรี
เกลือกใกล้
เรียมคิดจนจบตรี โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง
เรียมคิดจนจบตรี โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง
22.
จากมามาลิ่วล้ำ
ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
37.
บ้านบ่อน้ำบกแห้ง
ไป่เห็น
บ่อเนตรคงขังเป็น เลือดไล้
อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย
มาซับอัสสุชลให้ พี่แล้วจักลา
บ่อเนตรคงขังเป็น เลือดไล้
อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย
มาซับอัสสุชลให้ พี่แล้วจักลา
41.
เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
118.
ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ
สงสาร อรเอย
จรศึกโศกมานาน เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละหาน หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า ย่านน้ำลาน
จรศึกโศกมานาน เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละหาน หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า ย่านน้ำลาน
122.
พันเนตรภูวนาถตั้ง ตาระวัง ใดฮา
พักตร์สี่แปดโสตฟัง อื่นอื้อ
กฤษณนิทรเลอหลัง นาคหลับ ฤาพ่อ
สองพิโยคร่ำรื้อ เทพท้าวทำเมิน
พักตร์สี่แปดโสตฟัง อื่นอื้อ
กฤษณนิทรเลอหลัง นาคหลับ ฤาพ่อ
สองพิโยคร่ำรื้อ เทพท้าวทำเมิน
138.
ลมพัดคือพิษต้อง
ตากทรวง
หนาวอกรุมในดวง จิตช้ำ
โฉมแม่พิมลพวง มาเลศ กูเอย
มือแม่วีเดียวล้ำ ยิ่งล้ำลมพาน
หนาวอกรุมในดวง จิตช้ำ
โฉมแม่พิมลพวง มาเลศ กูเอย
มือแม่วีเดียวล้ำ ยิ่งล้ำลมพาน
139.
เอียงอกเทออกอ้าง
อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
อากาศจักจารผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
140.
ตราบขุนคิริข้น
ขาดสลาย แลแม่
141.
ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง
แรมนวล นาฏฤา
เสนาะสนั่นดินครวญ ครุ่นฟ้า
สารสั่งพี่กำสรวล แสนเสน่ห์ นุชเอย
ควรแม่ไว้ต่างหน้า พี่พู้นภายหลัง
อธิบายศัพท์
เสนาะสนั่นดินครวญ ครุ่นฟ้า
สารสั่งพี่กำสรวล แสนเสน่ห์ นุชเอย
ควรแม่ไว้ต่างหน้า พี่พู้นภายหลัง
คำศัพท์
|
คำอธิบาย
|
ล่มสวรรค์
|
ทำให้สวรรค์จม คือชนะสวรรค์
เหนือสวรรค์
|
เมืองเมรุ
|
เมืองสวรรค์
ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ
|
อบาย
|
ความทุกข์ยาก
(ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งเสียกรุง)
|
ใจเมือง
|
ขวัญของพลเมือง
|
ตระโมจ
|
ว้าเหว่
|
ผอูน
|
น้อง
|
แด
|
ใจ
|
เทพไท้
|
เทวดา
|
ลักษมี
|
ชายาพระนารายณ์
|
สวยมภูว
|
พระอิศวร
|
คลองขุด
|
คลองผดุงกรุงเกษม
หรือที่เรียกว่าคลองใหม่
|
กอก
|
เป็นวิธีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของแพทย์โบราณ
ใช้ถ้วยปากแคบจุดไฟใส่ข้างในเพื่อไล่อากาศออก รีบเอาไฟออกและกดถ้วยลงบนอวัยวะตรงที่ปวด
จะช่วยบรรเทาความปวด
|
กอกรั่ว
|
กอกแล้วไม่หายเจ็บ
เพราะไล่อากาศในภาชนะออกไม่เพียงพอ
|
แผ่แง่
|
ฉลาดด้วยชั้นเชิง
|
ซัดสอดสองสี
|
ผู้หญิงโบราณใช้ผ้าแถบคาดอกผืนหนึ่ง
และใช้อีกผืนหนึ่งซึ่งสีตัดกันห่มข้างนอกหรือคล้องคอ
|
เรือแผง
|
เรือมีม่านบัง
สำหรับกุลสตรีในสมัยก่อนนั่ง
|
ด่าน
|
ด่านเก็บภาษีสินค้า
มักตั้งตามปากคลองและมีตาเหลวปักไว้เพื่อบอกให้รู้
|
ไห้ช้าง
|
ร้องไห้น้ำตาตกใน
แบบช้างเวลาที่มันเศร้า
|
แถง
|
พระจันทร์
|
เฉนียน
|
ตลิ่ง
|
สลา
|
หมาก
|
โท
|
ทั้งสองหมายถึงเขาและนางที่รัก
|
ไถง
|
พระอาทิตย์
|
เบญจรงค์
|
ชามเบญจรงค์
|
นพนิต
|
เนยข้น
|
กะได
|
เคย
|
ดอกดั้ว
|
นม
|
จรลาด
|
ตลาด
|
ลมฆาน
|
ลมหายใจเข้าออก
ใช้เป็นเคล็ดในการทำนายอย่างหนึ่งในเวลาเดินทาง
ถ้าลมหายใจคล่องก็หมายความว่าปลอดโปร่ง ถ้าลมหายใจขัดหมายความว่าอาจจะมีเหตุร้าย
|
ยอง
|
สัตว์จำพวกเนื้อทราย
|
เกลียงวัน
|
ป่าหญ้า
|
สุวา
|
นกแขกเต้า
|
ชไม
|
สอง
|
พระโฆษ
|
พระสมุทรโฆษ
ในชาดกกล่าวว่าพระโพธิ์เทพารักษ์อุ้มเอาพระสมุทรโฆษไปสมกับนางพินทุมดี
|
กำสรวลศรีปราชญ์
|
ชื่อบทประพันธ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
กล่าวกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง
|
ทวาทศมาส
|
ชื่อบทประพันธ์ในสมัยเดียวกับกำสรวลศรีปราชญ์
|
พวงจาว
|
นมนาง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น